top of page

เรื่องราวของมหาสวัสดิ์

 

คลองมหาสวัสดิ์

คลองมหาสวัสดิ์มีอีกชื่อนึงว่าคลองชัยพฤกษ์ เป็นคลองที่ไหลเป็นที่กั้นระหว่างอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับเขตตลิ่งชันและทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากคลองลัดบางกรวยหรือคลองบางกอกน้อย ไหลผ่านพุทธมลฑลออกไปจบที่แม่น้ำท่าจีนที่ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมมีความยางถึง 28 กิโลเมตร 

โดยในเวลลานี้คลองมหาสวัสดิ์ เป็นเส้นทางการเดินทางโดยเรือที่สำคัญของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง โดยน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ยังสามารถเอาไปทำประโยชน์ได้ในด้านเกษตรกรรม สามารถเรียกได้ว่าเป็นประโยชน์ให้ใช้งานแล้วยังเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอีกด้ว โดยรอบๆคลองมหาสวัสดิ์ก็มีชุมชนคลองมหาสวัสดิ์อยู่อีกด้วย

 

ต้นกำเนิดของมหาสวัสดิ์

           คลองมหาสวัสดิ์ได้เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเดินธุดงค์จนมาพบพระปฐมเจดีย์ซึ่งมีพระบรมสารีริกธาตุอยู่ด้วย ท่านจึงเดินทางกลับไปเชิญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาทำนุบำรุงแต่เกิดสิ้นรัชกาลก่อนหลังจากที่ท่านได้ขึ้นเป็นรัชกาลที่4ก็ได้ทำนุบำรุงพระปฐมเจดีย์โดยทำการขุดคลองในวันที่13 กันยายน พ.ศ. 2402 โดยความหมายของคลองมหาสวัสดิ์ก็คือ เส้นทางการเดินทางไปพระปฐมเจดีย์ เพื่อย่นระยะทางการเดินทางไปสู่พระปฐมเจดีย์ใช้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากขุดคลองเป็นที่เรียบร้อยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้
โปรดเกล้าฯให้ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
และพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เป็นแม่กองจ้างของชาวจีนขุดคลอง
          โดยต่อมาก็ได้ขุดเสร็จสิ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2403 โดยผลที่ออกมาคือ คลองนี้เป็นคลองที่กว้างที่สุดในสมัยนั้นด้วยความกว้าง 7 วา(14เมตร) โดยหลังจากนั้น
ชุมชนชาวจีนที่ทำการขุดคลองบางส่วนขุดคลอง ชาวบ้านจากริมแม่น้ำนครชัยศรี บางเตย และดอนหวาย ก็ได้เข้ามาอยู่อาศัยกัน เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีก็ได้ทำการสร้างศาลาขึ้นมาตามคลองทุก 100 เส้นเพื่อให้ประชาชนพักทั้งหมดจะมี7ศาลา โดยศาลาเหล่านี้จะถูกตั้งชื่อตามแต่ละสิ่งที่ศาลาต่างๆนั้นได้คอยทำ เช่น ศาลาที่ทำการเขียนตำราเกี่ยวกับยาก็ได้ชื่อว่าศาลายา
           ศาลายาจะมีศาลารวมกันหลายศาลาแบ่งเป็น 1-4 และ 6-7 โดยศาลาที่7ก็คือศาลาดินที่เรารู้จักกัน ส่วน5นั้นก็คือ”ศาลาทำศพ”และในปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนเป็น”ศาลาธรรมสพน์”ในที่สุด

จุดเริ่มต้นของชุมชนมหาสวัสดิ์

หลังจากชาวบ้านจากที่ต่างๆได้ย้ายเข้ามาแล้ว ในปีพ.ศ.2424มีวัดได้ถือกำเนิดขึ้นจากการร่วมศรัทธารกันของชาวบ้าน ซึ่งก่อนที่จะสร้างเป็นวัดขึ้นมาก็เป็นสำนักสงฆ์สุวรรณาราม ดังนั้นชุมชนก็ได้รับชื่อของวัดมาจนมีชื่อว่าชุมชนวัดสุวรรณารามในสมัยพระครูวิชัยวุฒิคุณ (หลวงปู่ดี สุวัณโณ) เป็นเจ้าอาวาสที่วัดสุวรรณารามท่านได้ทำการรวบรวมกำลังศรัทธาในชุมชนจากผู้คนในชุมชนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัด สร้างศาลาการเปรียญ สร้างสาธารณกุศล และยังสนับสนุนให้สร้างโรงเรียนแก่กุลบุตร-กุลธิดาได้เข้าศึกษาหาความรู้ จนวัดสุวรรณกลายหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างยิ่ง 

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหรือรัชกาลที่9 ได้เห็นว่าชุมชนแถบชุมชนศาลาดินมีความเป็นอยู่ที่ไม่ค่อยดีในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2516ในสมัยรัชกาลที่9ได้รับเรื่องที่เกษตรกรไม่มีความมั่งคงในอาชีพท่านจึงร่างกฏหมายปฏิรูปที่ดินขึ้นมท่านได้มอบพื้นที่ของท่านทั้งหมด 1009 ไร่แบ่งเป็นครอบครัวละ 20 ไร่และได้รับฉโนดพื้นที่ในวันที่ 29 พ.ศ.2520

ตามรอยหลักคำสอนเศรษฐกิจพอเพียง

คนในชุมชนนี้อาศัยอยู่ตามหลักคำสอนเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง โดยสามารถนำเสนอสถานที่และทรัพยากรให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ และบริการ ทั้งนี้ก็ยังรักษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติเอาไว้ด้วย สถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมดในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ก็เกิดจากการร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรคลองมหาสวัสดิ์หรือการบำบัดน้ำที่ใช้แล้วด้วยจุลินทรีย์สูตรสมุนไพรก่อนจะนำกลับไปใช้ที่นาข้าว เรียกได้ว่าเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและทำประโยชน์ให้มากมาย

บ้าน ศาลาดิน

คุณ วันชัย สวัสดิ์แดง

โทร. 081 4986340

นาบัว

คุณ ประไพ สวัสดิ์โต

โทร. 087 828 1892

บ้าน ฟักข้าว

คุณ ขนิษฐา พินิจกุล

โทร. 081 902 4516

สวนผลไม้

คุณ บุญเลิศ เศรษฐอำนวย

โทร. 0894036955

สวนกล้วยไม้

คุณ สร้อย ชายวันดี

โทร. 086 809 3264

ALL RIGHTS RESERVED.
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
Mahasawat

bottom of page